ขอบคุณที่มอบความไว้วางใจ ให้ทีมงาน Muangthai Life Agentsทีมงานที่ปรึกษาทางการเงินและประกันชีวิต ได้มีส่วนร่วมในการดูแลคุณและคนในครอบครัว เราพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันดูแลและเดินเคียงข้าง คุณและคนที่คุณรัก เพราะเราเป็นมากกว่าตัวแทนประกันชีวิต

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Muangthai Life Agents

   Muangthai Life agents  บริหารงานโดยทีมงานที่ปรึกษาการเงินและประกันชีวิตมืออาชีพ MDRT ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด   ที่พร้อมจะเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ที่สนใจ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินทุกรูปแบบของ เมืองไทยประกันชีวิต ทั้ง รูปแบบประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การลดหย่อนภาษี และการลงทุนผ่านกองทุนรวม ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าฝากธนาคาร ด้วยการบริการจากที่ปรึกษาการเงินและประกันชีวิตมืออาชีพ ผู้ได้รับอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย ( ค.ป.ภ.) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์( ก.ล.ต) อย่างเป็นทางการ 
   รวมถึงศักยภาพที่ทางบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งในการก้าวไปสู่องค์กรสำคัญของคนไทย ที่จะสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้กับสังคมไทย กับระยะเวลากว่า 61 ปี ภายใต้แนวคิดบรรษัทภิบาลที่ดำเนินงานอย่างโปร่งใสรับใช้สังคมไทยด้วยความซื่อสัตย์ และเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ถือกรมธรรม์ ทั้งในเรื่องของผลิตภัณฑ์ และบริการที่หลากหลายสมดังสโลแกนที่ว่า เมืองไทยประกันชีวิต บริษัท ของคนหัวคิดทันสมัย คุณจึงมั่นใจได้ว่า คุณจะได้รับคำปรึกษาและการดูแลในเรื่องของผลิตภัณฑ์ทางการเงินและประกันชีวิตอย่างมืออาชีพ 
  
    Muangthai Life Agents จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความคุ้มครอง ออมเงิน และลงทุนให้กับคุณ และคนที่คุณรัก ด้วยวิธีการใหม่ จากผลิตภัณฑ์อันหลากหลาย ที่รองรับความต้องการของลูกค้าทุกคน ด้วยวิธีการที่คุณเป็นผู้เลือกด้วยตัวคุณเอง ที่คุณออกแบบได้ เลือกได้ ปรับได้ ไม่จำกัดงบประมาณ
    คุณจะไม่รู้สึกอึดอัดหรือกดดันในการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต อีกต่อไป เพราะคุณ คือคนพิเศษ สำหรับเรา
4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เราขอนำเสนอ 







 
       NEW! ประกาศ 
ปัจจุบัน เมืองไทยประกันชีวิตใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 
300,000 บาท แล้ว สนใจติดต่อด่วน.!


แบบประกันใหม่ที่เราภูมิใจนำเสนอ


 
เมืองไทยยิ้มไม่หยุด 4กลุ่มโรคร้ายให้คุณสบายใจ เป็นเมื่อไหร่จ่ายถึง 400%

แบบประกันสุดฮิต.!
เมืองไทยสูงวัย ยิ้ม ยิ้ม แบบประกันเพื่อผู้สูงอายุ 
เบี้ยถูกไม่ต้องตรวจสุขภาพ และ ไม่มีคำถามสุขภาพ คุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท 
เริ่มต้นเพียง วันละ 5 บาทเท่านั้น

 สูงวัยสบายใจ 
แบบประกันเพื่อผู้สูงอายุ เบี้ยถูกไม่ต้องตรวจสุขภาพ
และ คุ้มครอง 5 โรคร้ายแรง
ชดเชยสูงสุด 500,000 บาท 


เริ่มต้นเพียง วันละ 11 บาทเท่านั้น

*************************************************************************************
ทำไมจึงต้องวางแผนการเงิน
คลิกเลย
 *************************************************************************************
**************************************************************************************
จะดีแค่ไหน ถ้าวันนี้คุณให้   เงิน  ทำงานแทนคุณ 
คลิกเลย

*****************************************************************************************
โปรโมชั่นพิเศษ 
เมืองไทยสไมค์คลับ สิทธิประโยชน์ดีๆ สำหรับคนพิเศษเช่นคุณ 
วางแผนการเงินและประกันชีวิตกับเราวันนี้ รับ ฟรี บัตรสไมค์คลับ เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับคนพิเศษเช่นคุณพร้อมสิทธิประโยชน์ต่างๆมากมาย 
 บทความดีๆที่จะทำให้คุณรู้ว่า ชีวิตคุณมีค่ามากเพียงใด
....พรุ่งนี้ไม่เคยมาถึง....
     เราต่างมีวันนี้ นาทีนี้ และวินาทีนี้เท่านั้น หลายครั้งที่เราบอก กับตัวเองว่า "พรุ่งนี้" พรุ่งนี้ค่อยทำ พรุ่งนี้ฉันจะรักเธอ พรุ่งนี้ฉันจะฝึกสมาธิ พรุ่งนี้ฉันจะกินมังสวิรัติ พรุ่งนี้ฉันจะเลิกบุหรี่ พรุ่งนี้ฉันจะขอโทษเขา พรุ่งนี้จะให้อภัย สารพัดสารพันพรุ่งนี้....
    แต่ พรุ่งนี้..ไม่เคยมาถึง ในความเป็นจริง เราไม่ได้มีชีวิตอยู่กับวันพรุ่งนี้ เรามีชีวิตอยู่ในขณะนี้กับห้วงเวลานี้เท่านั้น ไม่มีใครจะล่วงรู้ได้เลยว่าเสี้ยววินาทีต่อจากนี้ไปอะไรจะเกิดขึ้น หากห้วงยามนี้ฉันหลับตาลง และหลับไปอย่างนิจนิรันดร์ คงมีหลายอย่างที่ฉันพลาดไป และไม่ได้ทำในชีวิต 
     หลายครั้งเรารอให้โอกาสมาถึง รอให้วันพรุ่งนี้มาถึงแต่โอกาสไม่มีวันมาถึง วันพรุ่งนี้ไม่เคยมาถึงทุกอย่างเป็นเพียงภาพลวงตาที่เราสร้างขึ้นไม่เพียงแต่เรากำลังหลอกตัวเอง แต่เรากำลังหลอกคนรอบข้าง จริงแล้ว โอกาสอยู่ในมือเราแล้วตอนนี้ เวลานี้ โอกาสอยู่ตรงนี้ตลอดเวลา และก่อนที่เราจะมาอยู่ตรงนี้ด้วยซ้ำ...

 พระพุทธเจ้าสอนเราให้อยู่กับ "ปัจจุบันขณะ"อาจารย์ศิลป์ พีระศรี พูดว่า "พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว" "โอโช" บอกเราว่า "Why Tomorrow?,Why not now.!" ใช่สิ ทำไม...ทำไมไม่เดี๋ยวนี้! เราเคยลองถามตัวเองไหมหากได้มองกลับเข้าไปในชีวิตเราชอบที่จะผลัดวันประกันพรุ่งให้กับตัวเองและชีวิต

     จริงแล้วการผลัดวันประกันพรุ่งเป็นเพียงกลอุบายของจิต-ที่ทำให้เรารู้สึกมีความหวัง แต่ขณะเดียวกันมันก็ทำให้เราพลาดโอกาสไป ในที่สุดเราก็จะมาถึงทางตันของชีวิต คือ "ความตาย" และ สุดท้ายแล้วก็ไม่มีโอกาสใดๆ หลงเหลืออีกเลยในชีวิต ทำไมเราไม่ลองคิดว่า เราเหลือเพียงวินาทีสุดท้ายในชีวิตเรากำลังจะตายไปจากโลกนี้หรือโลกนี้จะแตกดับไป
ในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า
    หากคิดเช่นนั้น...ชีวิตเราคงจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง... เราคงจะมีชีวิตอยู่กับ "ชีวิตจริงๆ" ของเรามากขึ้นมากกว่าที่มีชีวิตอยู่กับบ้านหลังใหญ่ หรือหลังต่อไป รถคันใหม่ หรือคันต่อๆ ไป หรือตัวเลขที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงในธนาคาร เก้าอี้ในสำนักงาน ตำแหน่งที่วาดหวัง หรืออยู่กับการเข่นฆ่าแย่งชิงความเป็นใหญ่ หรือการทำสงครามใดๆ ในโลก
     คนส่วนใหญ่วางแผนการดำเนินชีวิตไว้ราวกับว่าชีวิตคือสิ่งที่ออกแบบได้ตายตัว และเป็นอมตะนิรันดร์ เขาวางไว้ว่าจะเรียนจบเมื่ออายุ 21 หลังจากนั้นทำงาน เก็บเงินแต่งงานเมื่ออายุ 29 จะมีลูกเมื่อ อายุ 32 แล้วก็จะปลดละวางตัวเองตอนอายุ 50 เสร็จแล้วก็จะเดินทางค้นหาความจริงให้กับชีวิต หรือจะเข้าวัด บ้างก็ว่าจะเดินทางรอบโลก บ้างก็ว่าจะพักผ่อนหาความสุขให้กับชีวิต
     แต่เราแน่ใจได้หรือว่า วันเหล่านั้นจะมาถึง หรือคุณจะมีชีวิตอยู่ไปจนถึงวันนั้น ไม่หรอก...มันไม่มี เรามีเพียงวันนี้ และวินาทีนี้เท่านั้น อย่าลังเลที่จะทำอะไร หรือเติมสิ่งดีๆให้ชีวิตเลย การพักผ่อนไม่ใช่จะมีได้เมื่อตอนปลดเกษียณ ฮันนีมูนก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้เฉพาะตอนแต่งงานใหม่ๆ การจะบอกรักใครสักคนก็ไม่ใช่บอกในวันที่เขาลาจากโลกนี้ไปแล้ว

     หรือบางครั้งเราเองต่างหากที่จะจากโลกนี้ไปก่อนที่จะได้บอกคำนั้นกับใครสักคน การค้นหาความจริงแห่งชีวิตก็เฉกเช่นเดียวกัน มันไม่มีป้ายบอก วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต และวันหมดอายุ มันมีอยู่จริงไม่ว่าเราจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่ก็ตาม มีแต่ชีวิตเราต่างหากที่มีวันหมดอายุ หากวันนี้เราคิดที่จะศึกษาหรือค้นหาความจริงแห่งชีวิต ความจริงก็ได้เปิดออกอยู่ตรงหน้าเราแล้ว อย่ารีรออีกเลย เพราะพรุ่งนี้... จะไม่มีวันมาถึง
     ร่วมวางแผนเพื่อกำหนดเส้นทางของชีวิตและการเงินที่แท้จริงของคุณ กับเราที่นี่
เพราะชีวิตนี้เป็นของคุณ จงอย่าให้คำว่า  "พรุ่งนี้" มาทำให้ชีวิตจริงของคุณ ณ เวลานี้ จบสิ้นไป
                       

การวางแผนการเงินส่วนบุคคล

การวางแผนการเงิน ( Financial Planning )  หมายถึง  กระบวนการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินของแต่ละบุคคลอาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  Personal  Finance  
ทำไมต้องวางแผนการเงิน        

1.คนอายุยืนขึ้น   
ปัจจุบันคนไทยมีอายุเฉลี่ย  71 ปี  แต่ถ้าเราเก็บสถิติเฉพาะคนไทยที่อายุ  60  ปีขึ้นไป  จะพบว่าท่านเหล่านั้นจะอยู่ได้อีกประมาณ  20  ปี  (  ข้อมูลจากสถาบันประชากรและสังคม ม.มหิดล  )   ดังนั้น  จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า  ช่วงเวลาหลังเกษียณที่ต้องอยู่อีกตั้ง 20 ปี  เราจะอยู่กันอย่างไร  ถ้าไม่มีการวางแผนการเงินที่ดีพอ          
2.โครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป        
เดิมคนไทยอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่    ปัจจุบันแยกย้ายกันอยู่  เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การคาดหวังให้ลูกหลานเลี้ยงดู  เป็นเรื่องที่หวังได้น้อยลง  เราจึงต้องเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ        
3.ค่าครองชีพในอนาคตจะสูงขึ้นมาก    
ข้าวของในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้นทุกวัน  อีก  20-30  ปีข้างหน้าในวันที่เราเกษียณ  สินค้าที่จำเป็นอาจแพงขึ้นอีก  1-2  เท่าตัว  โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาล  ที่มักมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายมากกว่าเงินเฟ้อเสมอ  ดังนั้นงบประมาณที่เราเตรียมไว้อาจไม่เพียงพอ  ถ้าไม่ได้คำนวนเผื่อค่าเงินเฟ้อไว้ด้วย  
4.สวัสดิการของรัฐไม่เพียงพอแน่    
ในอีก  15  ปีข้างหน้า  สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ  60  ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น  20%   นั่นหมายความว่า 1 ใน 5 ของคนไทยจะเป็นคนสูงอายุ  ขณะที่สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อคนสูงอายุจะลดลงจาก  6:1  ในปัจจุบันเป็น  3:1  ในปี  2021  ทำให้ภาษีที่รัฐเก็บได้จะไม่เพียงพอต่อการจัดหาสวัสดิการให้คนสูงอายุ  หรือหากทำได้ก็เป็นแบบพื้นๆเท่านั้น        
5.ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความซับซ้อนมากขึ้น          สมัยก่อนการฝากเงินในธนาคารให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจและมีความมั่นคงสูง  เดี๋ยวนี้ดอกเบี้ยเงินฝากลดน้อยลงมาก  ขณะที่ช่องทางการลงทุนใหม่ๆมีให้เลือกหลากหลายมากขึ้น  แต่ก็มีรูปแบบและความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป  การทำความเข้าใจและรู้จักวางแผนการลงทุนให้ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคล  จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น         
6.ทำให้เราสามารถเกษียณอายุได้เร็วขึ้น           
หากมีการวางแผนที่ดีและเริ่มต้นเร็ว  ย่อมบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่า  ไม่ว่าจะเป็นเงินออมที่เก็บได้มากขึ้น  ดอกเบี้ยทบต้นที่สูงขึ้น  หรือการสามารถหาประโยชน์จากโอกาสดีๆที่บังเอิญผ่านเข้ามา  เพราะเรามีเงินออม  เงินก้อนที่เก็บเอาไว้  เช่น  ซื้อที่ดินทำเลสวยจากคนที่ร้อนเงิน  หรือ  ซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาตกลงมามากเกินควร         
7.ช่วยรองรับความเสี่ยงของชีวิตได้มากขึ้น   
ชีวิตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน  เราอาจโชคร้าย  เจ็บป่วย  หรือ  เกิดอุบัติเหตุหนักๆขึ้นได้   แต่ถ้าเรามีการวางแผนการประกันภัยไว้  ย่อมสามารถบรรเทาภาระต่างๆลงได้  หรือ  เราเกิดตกงานกระทันหัน  มีคนในครอบครัวป่วย  การมีเงินเก็บสำรองไว้  ย่อมหลีกเลี่ยงความยุ่งยากจากการต้องไปกู้หนี้ยืมสินเงินกู้นอกระบบลงได้
******************************************************************************************
การบริหารภาระหนี้สิน




*********************************************************************************************
ปิรามิดแห่งการวางแผนทางการเงิน

ในส่วนของ Basic Needs & Risk Management คือความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพในชีวิตประจำวัน Basic Needs หมายถึง การมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินที่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายไว้อย่างน้อย 3-6 เดือน ของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เช่น คุณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 10,000 บาท แสดงว่าคุณควรจะมี Emergency Cash หรือเงินออมเผื่อฉุกเฉิน จำนวน 30,000 – 60,000 บาท และในส่วนของ Risk Management อธิบายอย่างง่าย ๆ เลยจะหมายถึง การมีประกันที่เพียงพอ หรือ การวางแผนการประกันโดยแยกประเภทใหญ่ ๆ ได้เป็น 3 ส่วนคือ 1. Income Protection การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองรายได้
2. Health Protection การทำประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ และ โรคร้ายแรง
3. Asset Protection การทำประกันเพื่อคุ้มครองสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น รถยนต์ บ้าน และ ธุรกิจ


สามเหลี่ยมที่เป็นฐานชั้นที่ 2
ในส่วนของ Accumulation ในส่วนนี้จะผ่านการวางแผนทางการเงินในเรื่องของ
1. การวางแผนภาษี
หากส่วนนี้เรามีการวางแผนดี ๆ จะทำให้เรามีเงินเพิ่มมากขึ้น เรียกง่าย ๆ ว่าเปลี่ยนเงินที่ต้องจ่ายภาษีมาเป็นเงินออมของเราเพียงเท่านี้เราก็จะมีเงินเก็บส่วนตัวเพิ่มขึ้น และ กลยุทธ์ง่าย ๆ ที่จะทำให้ประหยัดภาษีก็คือ
- ลด   เงินได้พึงประเมินให้ต่ำลง
- เพิ่ม   ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ให้สูงขึ้น


2. การวางแผนการเกษียณ
ในส่วนนี้เราควรวางแผนเกษียณแต่เนิ่น ๆ หรือเพิ่งเริ่มทำงานจะดีมาก เพราะจะตรงกับคำพูดที่ว่า “ ออมก่อนรวยกว่า” ซึ่งตัวช่วยที่สุดยอดก็คือ “ พลังของดอกเบี้ย” ทั้งจะทำให้เราออมเงินได้อย่างสบาย ๆโดยไม่ทำให้เรารู้สึกว่าตึงหรือหนักจนเกินไปซึ่งเมื่อถึงวัยเกษียณแล้ว การมีเงิน 10 ล้าน ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับเรา หากเลือกได้เมื่อถึงวัยเกษียณ “ การเป็นคนแก่น่ารำคาญ (หมายถึงพอแก่แล้วไม่มีเงินเป็นภาระของลูกหลาน) กับ เป็นคนแก่เจ้าสำราญ (หมายถึง พอแก่แล้วมีเงินทองมากมายลูกหลานรักใครห้อมล้อม)” หากตอนนี้ยังมีเวลาเลือกได้ การเป็น “ คนแก่เจ้าสำราญ” น่าจะดีกว่าจริงมั้ยครับ

สามเหลี่ยมชั้นที่ 3 ชั้นสุดท้าย

คือในส่วนของการลงทุน ซึ่งในแง่ของเศรษฐศาสตร์แล้ว การลงทุน คือ “ การเลื่อนการบริโภคออกไปในอนาคต” ในส่วนนี้เป็นส่วนสุดท้ายของการวางแผนทางการเงินซึ่งการลงทุนนั้นโดยมากคนทั่วไปมักจะมุ่งหวังกำไรสูงสุดเป็นที่ตั้ง แต่ความจริงแล้วหลักในการพิจารณาที่จะลงทุนสิ่งสำคัญควรคำนึงถึง รายได้ ไลฟ์สไตล์ ช่วงอายุ และ การยอมรับในส่วนต่างของการ ขาดทุน หรือ กำไร จากการลงทุน และ อย่าลืมสัจจะธรรมของการลงทุนที่ว่า “High Risk High Return & Low Risk Low Return” 
****************************************************************************************
โครงสร้างการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล



  การวางแผนการประกัน
การประกันภัยเป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งและเป็นขั้นตอนระดับพื้นฐานในการวางแผนทางการเงิน ซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองทางการเงิน และ ความมั่นใจในการดำรงชีวิตแก่ตนเอง และ ครองครัวที่ได้รับความเดือนร้อนหรือความเสียหายจากการทุพพลภาพ หรือจากการสูญเสียชีวิตของผู้มีรายได้หรือหัวหน้าครอบครัวก่อนวัยอันควร นอกจากนั้น การประกันชีวิตยังส่งเสริมและฝึกนิสัยบุคคลให้รู้จักเก็บออมอีกด้วย

ค่าใช้จ่ายในการประกันภัย ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์สำหรับอนาคต เนื่องจากทุกชีวิตมีความเสี่ยงที่อาจจะประสบกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เราไม่คาดคิด ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องสูญเสียรายได้ ชีวิต และทรัยพย์สิน ดังนั้นคุณจึงควรวางแผนในการทำประกันภัย เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวา ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุดังกล่าวจะได้ไม่ต้องนำเงินออมหรือเงินที่ลงทุนไว้มาใช้
เพราะความไม่แน่นอนคือความแน่นอน การทำประกันเพื่อบรรเทาความสูญเสียทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถจัดการกับความสูญเสียจากการเสี่ยงภัยได้ด้วยตนเอง
การเลือกประเภทของการประกัน การประกันแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การประกันชีวิตและการประกันภัย และยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะ ทั้งการประกันสุขภาพ การประกันอุบัติเหตุ การประกันอัคคีภัย การประกันโจรกรรม การประกันแบบสะสมทรัพย์ แบบชั่วระยะเวลา ฯลฯ เราจึงควรเลือกทำประกันให้สอดคล้องกับความจำเป็นทางการเงิน และความเสี่ยงภัยของเรา โดยพิจารณาประกอบกับสวัสดิการ หรือความคุ้มครองที่ได้รับจากหน่วยงานต้นสังกัดว่าที่มีให้เรานั้นเพียงพอแล้วหรือยัง?

ข้อความจาก www.tsi-thailand.org และ หนังสือ “ เงินทองต้องใส่ใจ “ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 
_____________________________________________________________________________
การวางแผนการศึกษาบุตร
เมื่อครอบครัวมีสมาชิกตัวน้อยๆ สายใยรักแห่งครอบครัวก็ถักทอแน่นหนาขึ้น หน้าที่สำคัญของพ่อและแม่ก็คือ การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี ส่งเสริม สนับสนุนให้การศึกษาที่ดีแก่ลูกเพื่อให้ลูกพึ่งพาตนเองได้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างบุคลากรที่ดีให้แก่สังคมของพ่อและแม่จัดการได้โดยการเริ่มวางแผนการศึกษาแก่บุตรตั้งแต่ก่อนวัยเรียน
การหาข้อมูลสถานศึกษา
เพื่อวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน การเดินทาง ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียน จำนวนครู อาจารย์ ผู้ช่วยสอน ความน่าเชื่อถือ
กำหนดเป้าหมายจำนวนเงิน
เนื่องจากค่าเล่าเรียนที่แตกต่างกันค่อนข้างมากระหว่างโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน หรือโรงเรียนสองภาษา โรงเรียนนานาชาติ พ่อแม่จึงควรเลือกโรงเรียนที่ได้มาตรฐานตามความต้องการของครอบครัวและมีค่าใช้จ่ายในการเรียนเหมาะสมกับรายได้ของครอบครัว เพื่อกำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช้ตลอดจนจบการศึกษาของลูก
วางแผนการจัดสรรค่าใช้จ่าย ไว้สำหรับการศึกษา
ควรเน้นการเก็บออม และการลงทุนระยะยาวที่มีความมั่นคง เพื่อให้เงินออมเพิ่มมูลค่าได้อย่างเพียงพอและสม่ำเสมอประกอบควรทำประกันชีวิตไว้ส่วนหนึ่งเผื่อถ้ามีเหตุการไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับเรา ลูกน้อยของเราจะได้มีทุนการศึกษาไว้เล่าเรียนต่อในยามที่เราไม่สามารถดูแลพวกเค้าอีกต่อไปได้
ในปัจจุบันมีทางเลือกในการเรียนเพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งโรงเรียนสองภาษา โรงเรียนนานาชาติ หรือการไปเรียนต่างประเทศ ถือเป็นโอกาสที่ดีทางการศึกษา ควรส่งเสริมให้ลูกๆ ได้มีส่วนช่วยในการเปรียบเทียบข้อมูล ช่วยตัดสินใจ และช่วยวางแผนการศึกษาของตนเอง เมือถึงวัยอันควร รวมทั้งร่วมกันหาข้อมูลทุนการศึกษาประเภทต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกๆ เอาใจใส่ในการเรียน
_______________________________________________________________________________
  การวางแผนภาษี
เนื่องจากรัฐบาลจะใช้มาตรการทางภาษี เพื่อส่งเสริมการออมของประชาชน เราจึงควรศึกษามาตรการทางภาษีเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนภาษีส่วนบุคคล ซึ่งจะช่วยให้เราเสียภาษีได้อย่าง ถูกต้อง ถูกสตางค์ และถูกใจ ซึ่งเริ่มต้นง่ายๆ จากการทำความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้ที่เราจะต้องเสีย แล้วใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุ้มค่า
การใช้สิทธิประโยชน์จากเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี กรมสรรพากร* ได้กำหนดให้มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นภาษีไว้ 28 ประเภท ซึ่งมีรายละเอียดมากกว่า 50 รายการ ที่เราควรจะศึกษา ทำความเข้าใจ และจัดเตรียมเอกสารรับรองให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์ที่จะได้รับจากการยกเว้นภาษี ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสินค้าทางการเงินที่เห็นได้ชัดอีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากกรมสรรพากรด้วยคือ
1.เงินได้ที่จ่ายซื้อเบี้ยประกันชีวิต ให้หักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท / ปี
2.เงินได้ที่จ่ายซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวม LMF ให้หักเป็นค่าลดหย่อนได้ 500,000 บาท/ปี
(ปัจจุบัน หักลดหย่อนได้ 700,000บาท/ปี) ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมินต่อปี
3.เงินได้ที่จ่ายซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวม RMF ให้หักเป็นค่าลดหย่อนได้ 500,000 บาท/ปี
* (ปัจจุบัน หักลดหย่อนได้ 700,000 บาท/ปี) ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมินต่อปี
_________________________________________________________________________________
การวางแผนการลงทุน
การวางแผนการลงทุน คือ การกำหนดนโยบายการลงทุน เพื่อที่จะได้แบ่งสรรเงินออมที่มีในขณะนั้น แล้วนำไปลงทุนต่อไป
เหตุที่เราต้องจัดสรรเงินลงทุนเพราะ มีตราสารทางการเงินหลากหลายประเภทที่เราอาจนำเงินไปลงทุนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นได้ เช่นการลงทุนในหุ้นทุน พันธบัตรที่ออกจำหน่ายโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลให้การค้ำประกัน หุ้นกู้ กองทุนรวม กรมธรรม์ประกันชีวิต หรือแม้แต่ในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งล้วนเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เรารู้จักกันดี
สิ่งที่เราต้องเข้าใจคือ เครื่องมือหรือตราสารทางการเงินแต่ละประเภทนั้นล้วนมี “ ความเสี่ยง” ในการลงทุนที่แตกต่างกันไป และผู้ลงทุนแต่ละคนสามารถรับอัตราความเสี่ยงได้ไม่เท่ากันด้วย
ความเสี่ยง ที่เราในฐานะผู้ลงทุนคนหนึ่งควรจะทราบไว้ เพื่อจะได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนนั้น แยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. ความเสี่ยงที่ไม่สามารถกระจายได้ เป็นความเสี่ยงของระบบหรือของตลาด ที่เขาใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Systematic Risks ตัวอย่างของความเสี่ยงชนิดนี้คือ ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ จากอัตราดอกเบี้ย และจากเรื่องของการเมือง คุณคงจะเห็นแล้วว่าเรื่องทั้งหลายที่กล่าวมานั้นหากเราลงทุนอยู่ในตลาดของประเทศหนึ่งประเทศเดียวเท่านั้น และเกิดมันมีการเปลี่ยนไปไม่ว่าจะอย่างไร ทางไหน การลงทุนของเราต้องโดนผลกระทบแน่ๆ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย
2. ความเสี่ยงที่สามารถกระจายได้ หรือ Non-Systematic Risks ขอให้ตัวอย่างของความเสี่ยงชนิดนี้ไว้คร่าวๆ คือ ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของกิจการที่เราไปลงทุนอยู่ และความเสี่ยงของอุตสาหกรรมโดยรวม
วิธีลดความเสี่ยงประเภทที่สองนี้ คือ แบ่งการลงทุนออกไปในภาคอุตสาหกรรม (ที่ดีๆ และมีอนาคตด้วย) มากกว่าหนึ่งอย่าง พร้อมๆ กับลงทุนในหลายๆ บริษัท หรือที่เราคุ้นกับสุภาษิตไทยโบราณที่ว่า “ อย่าใส่ไข่รวมไว้ในตะกร้าเดียว” นั่นเอง
เป็นเรื่องที่น่าเสียดายว่า มีคนอีกหลายคนที่เมื่อกำหนดนโยบายการลงทุนได้แล้ว แทนที่จะเริ่มลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่ตนเองกำหนดไว้ แต่กลับคอยโยกย้ายเงินลงทุนของตนไปตามกระแส หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนของตนไป เมื่อมีใครมาเคาะประตูเสนอขายสินค้าทางการเงินโดยใช้ “ ผลตอบแทนการลงทุน” มาเป็นเครื่องล่อใจ
หลายคนมักจะคิดว่า...เรามีเงินลงทุนน้อยนิดเดียว จำเป็นด้วยหรือที่ต้องวางแผนการลงทุน?
ในความเป็นจริงแล้ว คนที่ควรจะต้องวางแผนการลงทุน และอาจจะต้องการให้มีผู้วางแผนการลงทุนที่ชำนาญมาช่วยกำหนดแผนการลงทุนให้นั้น ควรจะเป็นคนชั้นกลางที่พอมีเงินเหลือเก็บ เพราะเงินแต่ละบาทที่คนกลุ่มนี้หามาได้นั้น หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงจริงๆ และด้วยความยากลำบากยิ่ง
ดังนั้นเขาควรต้องมีผู้เชี่ยวชาญและชำนาญหรือมี ที่ปรึกษาทางการเงินหรือนักวางแผนการเงินที่ มาช่วยวางแผนการลงทุนให้ เพื่อจะช่วยให้เขาสามารถมีเงินออมไว้ได้มากเพียงพอกับวัตถุประสงค์ของเขาในอนาคต
________________________________________________________________________________
การวางแผนเกษียณอายุ
หากกล่าวถึงการเกษียณอายุ คนส่วนใหญ่มักจะมองว่าเป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งไกลเกินไปที่จะคิดและวางแผนเสียตั้งแต่วันนี้ โดยหารู้ไม่ว่าจริง ๆ แล้วการวางแผนเพื่อเกษียณอายุนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นและควรให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนั้น คุณจึงควรที่จะวางแผนเกษียณอายุเสียตั้งแต่วันนี้ โดยคำนึงถึงระยะเวลาแห่งช่วงชีวิต อัตราเงินเฟ้อ วิถีชีวิต รวมไปจนถึงปัญหาทางด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวคุณด้วย
ในการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุนั้น จะเริ่มตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการเหลังเกษียณ จากนั้นค่อยสำรวจความพร้อมของตนเองควบคู่ไปกับคำนวณความต้องการใช้เงินหลังเกษียณ ขั้นตอนต่อมาจึงกำหนดวิธีที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย โดยการเขียนแผนเป็นลาดลักษณ์อักษรและที่สำคัญต้องลงมือปฎิบัติตามแผน พร้อมทั้งทบทวนและปรับปรุงแผนการออมอย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเกษียณอายุของคุณบรรลุเป้าหมายคุณควรศึกษาและติดตามข้อมูลเศรษฐกิจอยู่เสมอ กระจายสินทรัพย์เพื่อลดความเสี่ยง ทำประกันชีวิต และ สุขภาพ วางแผนภาษี บริหารจัดการสินทรัยพ์ที่มีอยู่ให้เรียบร้อย และหากมีเอกสารสำคัญก็ควรบอกให้คนใกล้ชิดทราบเผื่อหลงลืมเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการวางแผนเพื่อเกษียณอายุได้อย่างสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
_________________________________________________________________________________

ร่วมออกแบบและวางแผนทางการเงินกับเราสิครับ เพื่ออนาคตที่สดใสของคุณและคนในครอบครัว
คลิกเลย..!  085-154-4935 ทุกวันเวลาทำการ
_________________________________________________________________________